BB STEEL INTERNATIONNAL

จำหน่ายBasket Strainer ราคาถูก,Strainer type Manual, Automatic Basket Strainer, Duplex Strainer, Automatic Duplex Strainer, Auto Cleaning Strainer,Backwash Water Filter,T Strainer, Screen Filter, Hydrocyclone Separator, Inline Flame Arrester, End of line Flame Arrester, Breather Valve with Flame Arrester,Pressure Gauge type Diaphragm Seal, กระจกทนความร้อน,กระจกทนแรงดัน, Flow,Indicator Sight Glass, Sight glass hight temp, Anode, Valves www.bbsinter.com Tel. 061-5906036, email: bbssale1@gmail.com

หจก. บีบี สตีล อินเตอร์เนชั่นแนล

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

PIPE

Pipe หมายถึง ผลิตภัณฑ์ท่อที่กำหนดขนาดโดยการระบุค่า Nominal Size เช่น ประเทศสหรัฐอเมริการะบุขนาดเป็น Nominal Pipe Size (NPS) และนานชาติระบุขนาดเป็น Diameter Nominal (DN) ส่วนประเทศญี่ปุ่นระบุขนาดเป็น Nominal Diameter (ND) ซึ่งทั้งสามชื่อเป็นขนาดที่เป็นเพียงชื่อเรียกเท่านั้น อาจจะไม่ใช่ค่าจริงของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก สำหรับความหนาของผนังท่อถูกกำหนดเป็น Schedule Number หรือ Weight Class โดยส่วนใหญ่ Pipe มักถูกใช้เป็นท่อที่เชื่อมต่อจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ผลิตภัณฑ์ Pipe ที่ใช้งานส่วนใหญ่มีขนาดเริ่มตั้งแต่ NPS 1/8 (DN 6) ถึง NPS 80 (DN 2000) หรือใหญ่กว่านี้ในกรณีพิเศษ ขอให้ศึกษาเรื่องขนาดท่อเพิ่มเติมในหัวข้อเรื่อง²ขนาด , มิติ และ ความหนาท่อ (Pipe Size Dimensions)² Tube ในงาน Pipeline หมายถึง ผลิตภัณฑ์ท่อที่กำหนดขนาดโดยการระบุค่า Outside Diameter (ค่ามิติจริงของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก) และกำหนดความหนาของผนังท่อเป็นมิลลิเมตร หรือนิ้ว หรือ Gauge ในการใช้งานส่วนใหญ่ของ Tube นั้นมักถูกใช้เป็นท่อขนาด เล็กภายในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Heat Exchangers , Air – compressors , และ Boilers Refrigerators ผลิตภัณฑ์ Tube ที่ใช้งานส่วนใหญ่มีขนาดเริ่มตั้งแต่ OD. 1/8 นิ้ว (3.175 mm) ถึง 3 นิ้ว (76.2 mm) ส่วน Tube ที่ขนาดใหญ่กว่า 3 นิ้ว ก็มีใช้งานอยู่บ้างแต่มีน้อยมาก ลักษณะการใช้งาน Pipe : ส่วนใหญ่ใช้ในระบบท่อทั่วไป เป็นสื่อในการเคลื่อนย้ายของไหลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น Main Steam Pipe , Cooling Water Pipe , service water pipeเป็นต้น Tube : ส่วนใหญ่ใช้งานใน Heat Exchanger (เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน) , Boiler (เครื่องกำเนิดไอน้ำ), ระบบท่อในเครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก OEM(original manufacturing machine) ตลอดจนใช้เป็นระบบท่อในอุตสาหกรรมอากาศยาน(ระบบท่อ hydraulic ในเครื่องบิน) ตัวอย่างการใช้งานได้แก่ water wall tube(ผนังของboiler) , boiler tube , superheater coil of boiler, economizer coil of boiler , shell and tube of heat exchanger เป็นต้น การแบ่งท่อตามลักษณะการผลิต มีดังนี้ 1.ท่อเชื่อมตะเข็บ (Welded pipe) ท่อชนิดนี้ผลิตโดยการนำแผ่นเหล็กมาม้วน – เชื่อม ซึ่งวิธีการม้วนทำให้ทั้งม้วนตามแนวยาว หรือม้วนแบบ Spiral ท่อตะเข็บแบ่งประเภทตามวิธีการเชื่อมตะเข็บดังต่อไปนี้ A : Electric Resistance Welding (ERW) เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บหลอมละลายด้วยความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า โดยไม่มีการอาร์ค (arc) กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์ จากนั้นจะค่อยๆม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง ผ่านลูกรีดหลายแท่นโดยไม่ต้องใช้ความร้อน (cold forming) แล้วทำการผ่านกระแสไฟฟ้าตกคร่อมระหว่างขอบทั้งสองของตะเข็บ ความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าจะทำให้ขอบของเหล็กร้อนแดงที่อุณหภูมิระหว่าง 1200 °C ถึง 1400°C (2200°F ถึง 2600°F) แล้วจึงกดอัดให้ตะเข็บติดกัน ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam) B : Butt Weld (BW) หรือ Continuous Butt Welding (CBW) บางครั้งก็ถูกเรียกว่า Furnace Butt Welding ( FBW) หรือ Hot Pressure Welding เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บร้อนแดงด้วยความร้อนจากเตาเผา กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์ จากนั้นป้อนแผ่นเหล็กผ่านเตาเพื่อทำการให้ความร้อน โดยแผ่นเหล็กจะได้รับความร้อนทั่วทั้งแผ่น แต่ด้วยเทคนิคการจัดเรียงหัวเผาในเตา จัดให้บริเวณขอบแผ่นเหล็กร้อนที่สุด จากนั้นค่อยๆ ม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านลูกรีดหลายแท่น (hot forming) แล้วจึงกดอัดให้ตะเข็บติดกัน ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam) C : Electric Fusion Welding (EFW) เป็นกระบวนการเชื่อมที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการอาร์คบริเวณแนวเชื่อมให้หลอมละลายติดกัน โดยอาจใช้ลวดเชื่อม (filler metal) หรือไม่ใช้ก็ได้ กระบวนการเชื่อม Fusion Welded นี้มีด้วยกันหลายวิธี เช่น Submerge Arc Welding (SAW),Double Submerge Arc Welding (DSAW ซึ่งเหมือน SAW แต่เป็นการเชื่อมตะเข็บทั้งด้านนอกและด้านใน),Gas Tungsten Arc Welding (GTAW หรือ TIG)และGAS Metal Arc Welding (GMAW หรือ MIG) เป็นต้น การผลิตท่อด้วยกระบวนการเชื่อม Fusion Welded มีทั้งแบบตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam) และตะเข็บ Spiral (Spiral welded seam) ดังนี้ -ท่อเชื่อมตะเข็บตรง ขึ้นรูปต่อเนื่อง ขั้นตอนการขึ้นรูปคล้ายกับวิธี ERW -ท่อเชื่อมตะเข็บตรง ขึ้นรูปแบบ U- O ใช้วิธีการกดแผ่นเหล็กแต่ละชิ้น ให้เป็นรูปตัว ² U ² จากนั้นจึงกดต่อให้เป็นตัว ² O ² แล้วจึงทำการเชื่อม ท่อที่ผลิตด้วยวิธี U- O นี้เรียกว่า UO Pipe UOE -ท่อเชื่อมตะเข็บ Spiral ขึ้นรูปอย่างต่อเนื่องด้วยการคลี่แผ่นเหล็กออกจากคอยล์ แล้วม้วนเป็น Spiral แนวเชื่อมจะมีลักษณะวนคล้ายขดสปริง ซึ่งบางทีก็เรียกว่า Helical ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้เรียกว่า Spiral Pipe 2. ท่อไร้ตะเข็บ (Seamless Pipe) ผลิตจากแท่งเหล็ก (Steel billet) ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้แท่งเหล็กตัดกลม วิธีการผลิตเริ่มจากการให้ความร้อนแท่งเหล็กที่อุณหภูมิประมาณ 1230°C (2250°F) จากนั้นแท่งเหล็กที่ร้อนแดงจะถูกหมุนและดึงด้วยลูกรีดผ่านแท่งทะลวง (piercing rod mandrel) ลูกรีดจะดึงให้เนื้อโลหะไหลผ่านแท่งทะลวงทำให้เกิดเปลือกท่อกลวง (hollow pipe shell) ขึ้น หลังจากนั้นจะให้ความร้อนอีกครั้งแล้วจึงรีดท่อโดยมี Support Bar อยู่ด้านใน เพื่อปรับให้ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความหนาของผนังที่ต้องการ อย่างไรก็ตามในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตท่อเหล็กกล้า จะต้องมีการรีดท่อเพื่อปรับแต่งขนาดและความหนาของท่อให้ตรงตามมาตรฐานหรือความต้องการของลูกค้า ซึ่งการรีดขั้นสุดท้ายมีทั้งรีดร้อน/รีดเย็น รีดทั้งท่อเชื่อมตะเข็บและท่อไร้ตะเข็บ ซึ่งก็จะมีชื่อเรียกตามวิธีการและชนิดของท่อ เช่น Hot Finish Seamless (HFS) , Cold Drawn Seamless (CDS) , Cold Drawn Welded (CDW) เป็นต้น ที่มา : หนังสือ คู่มืองานท่อ ของ นายประสิทธิ์ เรืองแก้ว นายฉัตรชัย ลาภรังสิรัตน์ ที่มา : ประปาไทยดอดคอม 



ฝ่ายขาย Tel. 061-5906036

   Email:bbssale1@gmail.com